
วันที่สร้าง : 18 ธันวาคม 2567
โครงการ แพทย์ดิจิทัล ดูแลผู้ป่วยทางไกล
การเข้าถึงบริการทางการแพทย์เป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ขาดแคลนแพทย์และโรงพยาบาล สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงระบบสาธารณสุข อาทิ โครงการ ‘แพทย์ดิจิทัล ดูแลผู้ป่วยทางไกล’ ใช้นวัตกรรม DoCare ผ่านระบบ Tele-monitoring และ Telemedicine ของเอสซีจี ดูแลผู้ป่วยทางไกลด้วยระบบติดตามสุขภาพ เก็บข้อมูลอย่างแม่นยำและต่อเนื่อง พร้อมระบบปรึกษาแพทย์ทางไกลเพื่อให้ทุกคนได้รับการดูแลทางการแพทย์ที่สะดวกและมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน โครงการได้ขยายจาก โรงพยาบาลนำร่อง สู่ 10 โรงพยาบาลใหม่ รวมเป็น 24 โรงพยาบาล ใน 22 จังหวัด ทั่วประเทศ
แพทย์ดิจิทัลช่วยอะไรได้บ้าง?
- ลดอุปสรรคการเข้าถึงการรักษา ผู้ป่วยสามารถพบแพทย์ผ่านระบบออนไลน์ ลดความจำเป็นในการเดินทางไปโรงพยาบาล
- ลดภาระบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้แพทย์สามารถดูแลผู้ป่วย ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ลดความแออัดในโรงพยาบาล ช่วยให้โรงพยาบาลสามารถจัดสรรทรัพยากรได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรค
- สร้างเครือข่ายสุขภาพที่มั่นคงและเข้าถึงได้ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพจากทุกที่
รายชื่อโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ
SCG และพันธมิตรได้ขยายความร่วมมือสู่ 10 โรงพยาบาลใหม่ โดยมีโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมดดังนี้
โรงพยาบาลนำร่อง
- โรงพยาบาลท่าวุ้ง
- โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
- โรงพยาบาลสบเมย
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา
- โรงพยาบาลอุบลรัตน์
- โรงพยาบาลน้ำพอง
- โรงพยาบาลนาทวี
- โรงพยาบาลละงู
- โรงพยาบาลนาวัง
- โรงพยาบาลสวนผึ่ง
- โรงพยาบาลตากใบ
- โรงพยาบาลลำสนธิ
- โรงพยาบาลขุนหาญ
- โรงพยาบาลศรีธาตุ
10 โรงพยาบาลใหม่ที่เข้าร่วมโครงการ
- โรงพยาบาลสูงเม่น
- โรงพยาบาลท่าวังผา
- โรงพยาบาลหัวตะพาน
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเชียงของ
- โรงพยาบาลปาดังเบซาร์
- โรงพยาบาลโนนนารายณ์
- โรงพยาบาลท่าสองยาง
- โรงพยาบาลหนองฮี
- โรงพยาบาลแม่ระมาด
- โรงพยาบาลยะรัง
โครงการนี้ไม่ได้เป็นเพียงการรักษาผู้ป่วยทางไกล แต่เป็น ก้าวสำคัญในการสร้างระบบสุขภาพที่เท่าเทียมและยั่งยืน เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่มีข้อจำกัดด้านระยะทาง