ประวัติของเรา 

พัฒนาการ
110+ ปี ของ SCG 

เอสซีจี ก่อตั้งในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2456 

จากพระราชญาณทัศน์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดสินใชั ผู้ผลิตปูนซีเมนต์แห่งแรกในประเทศไทย ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2456 เพื่อจัดการทรัพยากรในประเทศ อย่างคุ้มค่า

ลดการนำเข้า และพัฒนาความรู้ประสบการณ์ของคนไทยในการบริหารอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับความเจริญของบ้านเมืองและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างยั่งยืน จวบจนพัฒนามาเป็นเอสซีจี องค์กรที่เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มาตลอดกว่าหนึ่งศตวรรษ

2456 - 2474
2475 - 2493
2494 - 2504
2505 - 2517
2518 - 2529
2530 - 2556
2557 - 2566

2456

  • บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัดสินใช้ จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคมจึงถือวันดังกล่าวเป็นวันเกิดของบริษัทฯ
  • การประชุมครั้งแรกของบริษัทฯ ที่สำนักงานของหนังสือพิมพ์ The Siam Observer
2457
  • แต่งตั้งมิสเตอร์ออสคาร์ ชูลท์ซ ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้จัดการใหญ่ คนแรก (2457-2468)
2458
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ เริ่มดำเนินการผลิตด้วยกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี และเพิ่มเป็น 27,000 ตัน ในเวลาต่อมา
  • ระบบกำหนดราคาและการขนส่งสินค้าถูกจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจจำหน่าย
2459
  • พบแหล่งดินขาวแห่งใหม่ที่อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
2465
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ เริ่มต้นเดินเครื่องหม้อเผาที่ 2 กำลังการผลิตปีละ 35,000 ตัน 
2468
  • แต่งตั้งมิสเตอร์อีริค ทูน ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้จัดการใหญ่คนที่ 2 (2468-2477) 
2472
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ เริ่มเดินเครื่องหม้อเผาที่ 3 ด้วยกำลังการผลิต 46,000 ตันต่อปี รวมกำลังการผลิตทั้งหมดของโรงงานเป็น 108,000 ตันต่อปี 
2475
  • การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทำให้กรมพระคลังข้างที่ ผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทฯ ถูกลดบทบาทลง
2478
  • แต่งตั้งมิสเตอร์คาร์สเตน ฟรีส เยสเปอร์เซ่น ชาวเดนมาร์กป็นผู้จัดการใหญ่คนที่ 3 (2478-2502)
2480
  • สมาชิกคณะราษฏรมีส่วนร่วมบริหารองค์กร
2481
  • บริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตกระเบื้องมุงหลังคา นับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างของบริษัทฯ
2485
  • บริษัทฯ เริ่มผลิตเหล็กกล้าตามนโยบายส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของรัฐบาล
2487
  • ฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดตกลงบริเวณโรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ ทำให้หม้อเผาที่ 1 และ 2 ได้รับความเสียหาย 
2491
  • โรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง จังหวัดสระบุรี ก่อสร้างแล้วเสร็จเป็นโรงงานปูนซีเมนต์แห่งที่ 2 ของบริษัทฯ กำลังการผลิต 130,000 ตันต่อปี 
2493
  • บริษัทฯ เริ่มผลิตเหล็กเหนียวแท่งได้เป็นครั้งแรก 

 

2494
  • โรงงานเหล็กของบริษัทฯ เปิดแผนกเหล็กหล่อรูปพรรณ ผลิตอะไหล่โลหะสำหรับเครื่องจักรแทนการสั่งซื้อจากต่างประเทศ 
2495
  • บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตเสริมเหล็กและคอนกรีตอัดแรง โดยเปิดโรงงานผลิตคอนกรีตอัดแรงแห่งแรกของประเทศ 
2500
  • โรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง เริ่มต้นเดินเครื่องหม้อเผาที่ 3 ด้วยกำลังการผลิต 210,000 ตันต่อปี 
2501
  • พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทอดพระเนตรโรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง 
2502
  • แต่งตั้งมิสเตอร์วิกโก เฟรด เฮมมิ่งเซ่น ชาวเดนมาร์ก เป็นผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 4 (2502-2517) 
2503
  • โรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง เริ่มต้นเดินเครื่องหม้อเผาที่ 4 ด้วยกำลังการผลิต 210,000 ตันต่อปี
2504
  • บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด เริ่มผลิตท่อคอนกรีตเสริมเหล็กตามมาตรฐานสากล เป็นบริษัทแรกในประเทศ 
2493
  • บริษัทฯ เริ่มผลิตเหล็กเหนียวแท่งได้เป็นครั้งแรก 

 

2505
  • บริษัทค้าวัสดุก่อสร้าง จำกัด ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทต่างๆ ในเครือซิเมนต์ไทย
  • สมเด็จพระเจ้าเฟรเดอริคที่ 9 และสมเด็จพระราชินีอินกริตแห่งประเทศเดนมาร์ก เสด็จทอดพระเนตรโรงงานปูนซีเมนต์ท่าหลวง
  • เริ่มการก่อสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช 
2506
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ ติดตั้งหม้อเผาที่ 4 ด้วยกำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี
  • บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ก่อตั้งโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จขึ้นเป็นครั้งแรกที่บางซ่อน และนำรถผสมคอนดรีตมาใช้งานเป็นครั้งแรก
  • บริษัทฯ จัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อนำดอกผลที่ได้จากธุรกิจไปช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของมูลนิธิเอสซีจีในปัจจุบัน 
2507
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเป็นองค์ประธานพิธีเฉลิมฉลองในวาระที่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ครบรอบ 50 ปี และบริษัทกระเบื้องกระดาษไทย จำกัด ครบรอบ 25 ปี
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ เริ่มต้นเดินเครื่องหม้อเผาที่ 6 ด้วยกำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี 
2509
  • ก่อตั้งโรงงานปูนซีเมนต์ทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้กรรมวิธีการผลิตแบบแห้งเป็นแห่งแรกของประเทศ มีกำลังการผลิตปีละ 460,000 ตันต่อปี 
2510
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ ติดตั้งหม้อเผาที่ 6 ด้วยกำลังการผลิต 190,000 ตันต่อปี โดยหยุดการผลิตของหม้อเผาที่ 1 และ 2 เนื่องจากอายุการใช้งานที่ยาวนาน และปรับระบบของหม้อเผาที่ 3 เพื่อผลิตปูนซีเมนต์ขาวแทน 
2515
  • ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารรวมทุกบริษัทฯ เข้าภายใต้เครือซิเมนต์ไทย และใช้ตราสัญลักษณ์ใหม่ ช้างเผือกในรูปหกเหลี่ยมร่วมกัน
  • บริษัทผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง เริ่มผลิตท่อน้ำคอนกรีตอัดแรง ซีแพคร็อคล่า ออกสู่ตลาดครั้งแรก 
2517
  • คุณบุญมา วงศ์สวรรค์ เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 5 (2517-2519) 
2518
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด เริ่มต้นซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • โรงงานปูนซีเมนต์แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ติดตั้งหม้อเผาที่ 2 ทำให้มีกำลังการผลิต 1,100,000 ตันต่อปี 
2519
  • แต่งตั้งคุณสมหมาย ฮุนตระกูล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ คนที่ 6 (2519-2523)
  • เครือซิเมนต์ไทย เข้าไปกอบกู้บริษัทสยามคราฟท์ จำกัด ผู้ผลิตกระดาษคราฟท์ที่กำลังมีปัญหาทางการเงิน นับเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ 
2521
  • บริษัทสยามคูโบต้า ดีเซล จำกัด จัดตั้งขึ้นจากการร่วมทุนกับบริษัทคูโบต้า จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลิตเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็ก ถือเป็นธุรกิจร่วมทุนครั้งแรกของเครือซิเมนต์ไทย
  • บริษัทค้าวัตถุก่อสร้าง จำกัด เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทค้าสากลซิเมนต์ไทย จำกัด ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 
2523
  • แต่งตั้งคุณจรัส ชูโต ซึ่งเป็นพนักงานของเครือซิเมนต์ไทยคนแรก ที่ได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 7 (2523-2527) 
2526
  • โรงงานปูนซีเมนต์บางซื่อ ยุติการผลิตทั้งหมด
  • เครือซิเมนต์ไทย จัดพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่สูง 11 ชั้น พร้อมฉลองครบรอบ 50 ปี
  • ขยายการลงทุนสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ด้วยการก่อตั้งบริษัทไทยโพลิเอททีลีน จำกัด 
2528
  • แต่งตั้งคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 8 (2528-2535) 

 

2530
  • ก่อตั้งบริษัทสยามโตโยต้า อุตสาหกรรม เพื่อผลิตเครื่องยนต์สำหรับรถยนต์
  • ก่อตั้งบริษัทไทยซีอาร์ที จำกัด เพื่อผลิตหลอดภาพโทรทัศน์สี
  • จัดตั้งบริษัทสยามซานิทารีฟิตติ้งส์ จำกัด เพื่อผลิตอุปกรณ์เครื่องสุขภัณฑ์ 
2533
  • ร่วมทุนกับ TileCera Inc. เพื่อผลิตกระเบื้องเซรามิกสำหรับตลาดในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • จัดตั้งบริษัทที่ดินอุตสาหกรรม เครือซิเมนต์ไทย จำกัด เพื่อรองรับการขยายกิจการของบริษัทในเครือและบริษัทร่วมทุน 
2535
  • เปิดศูนย์วิจัยและสถาบันพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง
  • โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ที่เขาวง จ.สระบุรี แล้วเสร็จถือเป็นโรงงานที่มีหม้อเผาซีเมนต์ใหญ่ที่สุดในโลก กำลังการผลิต 3,600,000 ตัน 
2536
  • แต่งตั้งคุณชุมพล ณ ลำเลียง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 9 (2536-2548)
  • ก่อตั้ง 4 บริษัทใหม่ ได้แก่ บริษัทสยามอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ จำกัด บริษัทผลิตภัณฑ์ท่อสยาม จำกัด บริษัทสยามไฟเบอร์กลาส จำกัด และบริษัทสยามซิเมนต์เมียนมาร์เทรดดิ้ง จำกัด 
2537
  • บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
  • ก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด โดยมีโรงงานที่มีกำลังการผลิต 2.1 ล้านตัน ตามนโยบาย "สร้างงาน สร้างความเจริญ รักษาสิ่งแวดล้อมและเป็นพลเมืองที่ดีของลำปาง"
  • บริษัทในเครือฯ 7 บริษัท ได้รับรางวัลการรับรองคุณภาพ มอก. ISO 9002 
2539
  • เครือซิเมนต์ไทยได้รับการโหวตให้เป็น Most Ethical and Veritable Company in Asia ตามการสำรวจที่จัดทำโดยนิตยสาร Asian Business Review
  • เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาชิ และพระชายาเสด็จเยี่ยมชม ศูนย์วิจัยและพัฒนาของเครือซิเมนต์ไทย 
2540
  • เครือซิเมนต์ไทยปรับตัวเพื่อเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยลดบทบาทในธุรกิจที่ไม่เชี่ยวชาญ ควบคุมต้นทุนการผลิต เร่งการส่งออกและไม่ปลดพนักงาน 
2545
  • บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด ได้รับรางวัล The Deming Application Prize จาก Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ถือเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายแรกของโลกที่ได้รับรางวัลนี้ 
2547
  • เครือซิเมนต์ไทย ได้รับเชิญให้เข้าตรวจประเมินการทำงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนหนึ่งของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)
  • ธุรกิจจัดจำหน่าย เปิดให้บริการร้านซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท รูปแบบใหม่กว่า 20 สาขา 
2549
  • แต่งตั้งคุณกานต์ ตระกูลฮุน เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 10 (2549-2558)
  • เครือซิเมนต์ไทย ทำการเปลี่ยนภาพลักษณ์และเปลี่ยนชื่อเป็น เอสซีจี
  • ติดตั้งระบบผลิตพลังงานจากความร้อนเหลือทิ้ง จากการผลิตปูนซีเมนต์มาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า เริ่มนำมาใช้ที่โรงงานปูนซีเมนต์ลำปาง 
2552
  • SCG Experience เปิดบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างบ้านและเทคโนโลยีการก่อสร้าง ที่ Crystal Design Center
2553
  • เอสซีจี จัดงาน Thailand Sustainable Development Symposium 2010 เป็นครั้งแรก เพื่อถ่ายทอดแนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 
  • จัดตั้งโชว์รูมแสดงสินค้าที่ฮานอย ประเทศเวียดนาม เป็นโชว์รูมนอกประเทศแห่งแรกของเอสซีจี 
2554
  • เอสซีจี ร่วมงาน BOI Fair โดยมีประชาชนให้ความสนใจเข้าชม SCG Pavilion อย่างล้นหลาม ทั้งยังได้รับรางวัล Pavilion ยอดเยี่ยมอีกด้วย 
2556
  • เอสซีจี ฉลองครบรอบ 100 ปี
  • ปรับโครงสร้างการบริหารงานโดยรวม 3 ธุรกิจของเอสซีจี ได้แก่ ซิเมนต์ ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างและจัดจำหน่ายเข้าด้วยกันเป็น เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ก้าวสู่ศตวรรษใหม่ด้วย 3 กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี เคมิคอลส์ และเอสซีจี เปเปอร์ 
2558
  • แต่งตั้งคุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทฯ คนที่ 11
  • เอสซีจี ได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของโลกเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันในสาขาอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างของ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI)
  • ปรับธุรกิจจาก เอสซีจี เปเปอร์ เป็น เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เพื่อมุ่งเน้นในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 
2559
  • ร่วมทุนกับ Yamato Asia Pte. Ltd. ประเทศญี่ปุ่น เปิด SCG Express ให้บริการขนส่งพัสดุย่อยแบบเร่งด่วน
  • ขยายการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ก่อสร้างโรงงานปูนซีเมนต์ในประเทศ อินโดนีเซีย กัมพูชา เมียนมา และสปป. ลาว 
2560
  • ก่อตั้ง AddVentures บริษัทในรูปแบบ Corporate Ventures Capital เพื่อลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ
  • ตั้ง Open Innovation Center เพื่อต่อยอดพัฒนานัวตกรรมที่มีศักยภาพสูงในกลุ่ม Materials Clean และ Sensor & Internet of Things 
2561
  • ลงทุนโครงการ Long Son Petrochemicals ปิโตรเคมีครบวงจรขนาดใหญ่ในประเทศเวียดนาม
  • ขยายกำลังการผลิตโครงการมาบตาพุดโอเลฟินส์ จาก 1.7 ล้านตันต่อปี เป็น 2.05 ล้านตันต่อปี 
2562
  • บริษัทเอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)
  • ลงนามความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS) ตั้งศูนย์ความร่วมมือ SCG-CAS ICCB Innovation Hub เพื่อพัฒนานวัตกรรม 
2563
  • ขับเคลื่อนธุรกิจให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวฝ่าวิกฤติโควิด 19
  • จัดงาน SD Symposium 2020 ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่ความยั่งยืนตามแนวทาง ESG
  • SCGP เริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 
2564
  • ประกาศนโยบาย ESG 4 Plus แก้วิกฤตเพื่อโลกที่ยั่งยืน มุ่งสู่องค์กรต้นแบบธุรกิจ ESG
  • รุกธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า เปิดตัว EV Solution Platform โซลูชันเพื่อธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร
  • SCGP ขยายการลงทุนธุรกิจบรรจุภัณฑ์ ในประเทศอินโดนีเซียเวียดนาม 
2565
  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 ประดิษฐาน ณ เอสซีจี สำนักงานใหญ่
  • เอสซีจี ขยายธุรกิจใหม่ตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลก ด้วยธุรกิจพลังงานสะอาด นวัตกรรมกรีน โซลูชันสุขภาพและการแพทย์ และสมาร์ทลิฟวิง (Smart Living Solution)   
  • โรงงาน LSP เดินเครื่องการผลิตปิโตรเคมีที่ประเทศเวียดนาม กำลังการผลิตโอเลฟินส์ 1.35 ล้านตันต่อปี 
2566
  • แต่งตั้งคุณธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม เข้าดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทฯ คนที่ 12
  • เอสซีจี ปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจ เพิ่มความคล่องตัวในการบริการงาน ทำให้เกิดธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพเติบโตสูง เป็น เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชัน (SCG Cement and Green Solutions) เอสซีจี สมาร์ทลีฟวิง (SCG Smart Living) เอสซี เดคคอร์ (SCGD) เอสซีจี ดิสทริบิวชัน แอนด์ รีเทล (SCG Distribution and Retail) เอสซีจีพี (SCGP) เอสซีจี เคมิคอลส์ (SCGC) เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ (SCG Cleanergy) ธุรกิจโลจีสติกส์ครบวงจร ธุรกิจการลงทุนอื่น ๆ
  • มุ่งสู่การปล่อบก๊าซเรือนกระจก Scope 1 และ 2 สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
  • ได้รับการประเมินคะแนนสูงสุดระดับ Top 1% จากการประเมิน Corporate Sustainability Assessment ของ S&P Global, ESG Risk Ratings ระดับ ESG Industry Top Rated จาก Morningstar Sustainalytics และ MSCI ESG Ratings ระดับ AA
  • SCGD เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย